วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 วันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2559

ความรู้ที่ได้รับ

บทที่ 5 รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา 
   สถานศึกษาปฐมวัยจะต้องทำหน้าที่และร่วมกันรณรงค์เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาและการมีส่วนร่วมกับการศึกษาปฐมวัย โดยจะต้องพัฒนาทั้งความรู้และทักษะ เพื่อนำไปใช้กับเด็กอย่างถูกวิธี

รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน
ข่าวสารประจำสัปดาห์  เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน ข้อมูลประจำสัปดาห์ประกอบไปด้วย
  • รายละเอียดของสาระการเรียนรู้ ประสบการณ์และกิจกรรมที่สถานศึกษาวางแผนไว้ประจำสัปดาห์
  • พัฒนาการและการเรียนรู้ที่เด็กได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
  • กิจกรรมครอบครัว เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ ร่วมทำกับเด็กโดยในข่าวสารจะเสนอแนะกิจกรรมต่างๆ เช่น ประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็ก เกม วาดภาพระบายสี เพลงคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ฯลฯ
  • เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง เป็นการให้ข้อมูลความรู้เพื่อนำไปอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการเด็กหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็ก
  • ข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง เป็นการให้ผู้ปกครองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการสนับสนุนและพัฒนาเด็กให้ดียิ่งขึ้น
จดหมายข่าวและกิจกรรม เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง ในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก โดยจัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่นำเสนอในจดหมายข่าวและกิจกรรมอาจจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังนี้
  • ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็กและผู้ปกครอง
  • กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครอง เช่น นิทาน ศิลปะ ภาษา ฯลฯ
  • ความรู้สำหรับผู้ปกครอง ฯลฯ
การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี ด้วยการให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
  • วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
  • วิธีการสนทนากลุ่ม
  • วิธีอภิปรายกลุ่ม
  • วิธีการบรรยาย 
โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย  ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
  • แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
  • คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
  • หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
  • ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
  • จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
  • ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง 
   จัดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้องเรียน โดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น
  • ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
  • เกร็ดความรู้หรือสาระน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
  • ภาพถ่ายกิจกรรมในชั้นเรียน
  • ผลงานแห่งความภาคภูมิใจ
  • กิจกรรมในโอกาสพิเศษ เช่น ทัศนศึกษา การแสดงในวันปีใหม่ ฯลฯ
การสนทนา การสนาเป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง และช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนทนาดังนี้
  • เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก
  • เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน
  • เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน
รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา 

ห้องสมุดผู้ปกครอง เป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ อันเป็นแหล่งเรียนรู้ อีกรูปแบบหนึ่งของการให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การจัดการศึกษา ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและส่งผลต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ 

ป้ายนิเทศ ป้ายนิเทศในลักษณะนี้เป็นป้ายที่จัดเพื่อให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครองทั้งสถานศึกษา ลักษณะของป้ายประกอบด้วย ภาพ ตัวอักษร ของจริง แผนภูมิ สถิติ ฯลฯ ป้ายนิเทศจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ดังนี้
  • ข้อมูลการดำเนินงานของโรงเรียน เช่น ปรัชญา นโยบาย วัตถุประสงค์ ฯล
  • ข่าวสารประจำวันจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ
  • ข่าวของสถานศึกษา เช่น การประชุม สัมมนา กิจกรรมต่างๆ
  • ประกาศต่างๆ ของทางโรงเรียน เช่น วันหยุด นัดประชุมฯลฯ
  • ข่าวสารบริการต่างๆ เช่น แนะนำสถานศึกษา ข้อมูลกิจกรรมของเด็ก
  • กิจกรรมของสถานศึกษา เช่น กิจกรรมวันครู วันพ่อ วันแม่ ฯลฯ
  • ป้ายสำหรับผู้ปกครองในการแสดงความคิดเห็น
   โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองดังกล่าวเป็นรูปแบบของการพัฒนาศักยภาพของผู้ปกครองให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดู และส่งเสริมพัฒนาการตลอดจนการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก

   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้จัดทำแผนงานพัฒนาพ่อแม่ ผู้ปกครอง สมาชิกในครอบครัวและผู้ที่เตรียมตัวเป็นพ่อแม่ ดังนี้
  • สถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนทั่วไปให้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
  • จัดบริการเสริมความรู้ ความเข้าใจ ฝึกทักษะให้พ่อแม่ ครอบครัว คู่สมรสมีความเข้าใจในวิธีเลี้ยงดูเด็ก
  • ส่งเสริมให้องค์กรของรัฐ เอกชน ท้องถิ่นจัดฝึกอบรมให้แก่พ่อแม่ คู่สมรสใหม่และผู้ปกครอง
  • สนับสนุนโครงการต่างๆ ที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
  • จัดให้มีวิธีการประเมินผลการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง 
นิทรรศการ เป็นรูปแบบที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครองได้อย่างกว้างขวางรูปแบบหนึ่งด้วยการใช่สื่อหรืออุปกรณ์หลายชนิดในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย สถิติ หุ่น ผลงานเด็ก ภาพยนตร์ วีดีโอและซีดีซึ่งมีรูปแบบของนิทรรศการที่สามารถจัดได้ในสถานศึกษาดังนี้
  • นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
  • นิทรรศการเพื่อให้ความรู้
  • นิทรรศการเพื่อความบันเทิง 
มุมผู้ปกครอง เป็นบริเวณที่สถานศึกษาจัดให้บริการแก่ผู้ปกครองในระหว่างการเยี่ยมชมโรงเรียน การรอรับ-ส่งเด็ก หรือพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครองหรือครู เป้าหมายสำคัญของการจัดมุมผู้ปกครองคือ
  • เพื่อให้ผู้ปกครองได้ใช้เวลาว่างระหว่างการรอรับ-ส่งเด็ก ให้เกิดประโยชน์ด้วยการอ่านหนังสือ ฯลฯ
  • เป็นบริเวณที่ให้ผู้ปกครองได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้ปกครองด้วยกัน
  • เพื่อผู้ปกครองและเด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกันตามความเหมาะสมในระยะเวลาสั้นๆ เช่น อ่านหนังสือ ดูภาพกิจกรรมของเด็ก ชมผลงานเด็ก ฯลฯ
การประชุม  เป็นกิจกรรมหลักของสถานศึกษาที่สามารถใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานของถานศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย จุดประสงค์ของการจัดประชุมผู้ปกครองมีดังนี้
  • เพื่อแถลงนโยบายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
  • แลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่าสถานศึกษากับผู้ปกครอง
  • แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงาน
  • ประสานงานและทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง
  • สร้างความสามัคคีระหว่างผู้ปกครองกับครู
  • พัฒนาความรู้ความเข้าใจกับผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การจัดการศึกษา ฯลฯ
จุลสาร เป็นลักษณะของสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในทุกๆ ด้าน ให้แก่ผู้ปกครองได้รับทราบความเคลื่อนไหวและเพื่อประชาสัมพันธ์ เนื้อหาในจุลสารจะประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนของบรรณาธิการ เรื่องราวของเด็กๆ บทความรู้ และเบ็ดเตล็ด การจัดทำจุลสารเพื่อให้มีความน่าสนใจ โดยพิจารณาดังนี้
  • เนื้อหาความรู้ที่นำเสนอ 
  • จัดทำรูปเล่มให้น่าสนใจ
  • ภาพประกอบมีสีสันสวยงาม 
  • ภาษาไม่ควรจะเป็นวิชาการมากเกินไป
  • ควรมีคอลัมน์สำหรับผู้ปกครอง
คู่มือผู้ปกครอง  เป็นเอกสารที่ให้ความรู้ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา โดยจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเหมือนหนังสือทั่วไป ข้อมูลในคู่มือผู้ปกครองประกอบไปด้วย
  • ปรัชญาและเป้าหมายของสถานศึกษา
  • หลักสูตรและการจัดประสบการณ์
  • บุคลากรเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ
  • อาคาร สถานที่ สภาพแวดล้อม
  • การจัดบริการและสวัสดิการต่างๆ
  • กฎ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ สำหรับผู้ปกครองได้ทราบโดยทั่วกัน
  • การวัดและประเมินผล
ระบบอินเทอร์เน็ต  เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ใช้เพื่อการเรียนการสอน และเวิลด์ไวด์เวป (WWW.) การใช้อินเทอร์เน็ตในการให้ความรู้ผู้ปกครองนับเป็นบริการด้านหนึ่งที่สถานศึกษาสามารถจัดทำในรูปแบบ เวิลด์ไวด์เวป บริการให้ความรู้ผู้ปกครองผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่สถานศึกษาบรรจุลงในเว็บไซด์ สามารถให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับ
  • ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา 
  • เครือข่ายสถานศึกษาที่เกี่ยวข้อง
  • สาระความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับเด็ก 
  • กิจกรรมสำหรับผู้ปกครองและเด็ก
  • กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข่าวสาร ข้อมูล
  • คำถามของผู้ปกครอง 
สรุป   รูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองดังกล่าว สถานศึกษาสามารถจัดให้บริการแก่ผู้ปกครอง โดยมีข้อคิดที่สำคัญคือการคิดหาสื่อและช่องทางที่จะทำให้ความรู้ต่างๆ ถึงผู้ปกครองอย่างถั่วถึง รวดเร็ว และมีการตอบกลับ เพื่อให้สถานศึกษาได้รับรู้ว่าผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและทำให้การศึกษาระหว่างบ้านและสถานศึกษามีความเข้าใจที่ตรงกัน ทำให้การศึกษาเกิดแนวคิดต่อการพัฒนารูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพมากสูงสุด

คำถามท้ายบท
1. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน ครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ  
  • ข่าวสารประจำสัปดาห์  เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน
  • จดหมายข่าวและกิจกรรม เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง ในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก โดยจัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ 
  • การสนทนา การสนาเป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง และช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น 
2. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ
  • การประชุม  เป็นกิจกรรมหลักของสถานศึกษาที่สามารถใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานของถานศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย 
  • จุลสาร เป็นลักษณะของสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในทุกๆ ด้าน ให้แก่ผู้ปกครองได้รับทราบความเคลื่อนไหวและเพื่อประชาสัมพันธ์ 
  • คู่มือผู้ปกครอง  เป็นเอกสารที่ให้ความรู้ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา โดยจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเหมือนหนังสือทั่วไป ข้อมูลในคู่มือผู้ปกครองประกอบไปด้วย

  • ระบบอินเทอร์เน็ต  เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ใช้เพื่อการเรียนการสอน และเวิลด์ไวด์เวป (WWW.) การใช้อินเทอร์เน็ตในการให้ความรู้ผู้ปกครองนับเป็นบริการด้านหนึ่งที่สถานศึกษาสามารถจัดทำในรูปแบบ เวิลด์ไวด์เวป บริการให้ความรู้ผู้ปกครองผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่สถานศึกษาบรรจุลงในเว็บไซด์ สามารถให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับ
3. นักศึกษามีวิธีการหรือแนวทางแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จงอธิบาย
ตอบ อาจจะมีของรางวัลหรือสิ่งของตอบแทนเมื่อเข้าร่วมกิจกรรม หรืออาจจะโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับทราบถึงจุดประสงค์ที่แท้จริงของการอบรมหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ปกครองโดยตรง

4. การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ    การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญที่มีต่อการศึกษาเด็กปฐมวัย เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก  ให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน   เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง เพื่อเด็กจะเติมโตไปในสังคมได้อย่างสมบูรณ์

5. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะของรูปแบบอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
ตอบ 
  • วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม : ได้พบเห็นปัญหาต่าง ๆจากผู้ปกครองจริงๆ
  • วิธีการสนทนากลุ่ม : มีการแสดงความคิดเห็นกันด้วยบรรยากาศเป็นกันเอง 
  • วิธีอภิปรายกลุ่ม : มีการแบ่งหน้าที่ และได้ข้อมูลที่ชัดเจน
  • วิธีการบรรยาย : โดยการฟังข้อมูลข่าวสารทางเดียว ไม่วุ่นวาย



การนำไปประยุกต์ใช้
   สามารถนำรูปแบบวิธีการต่างๆ ในการให้ความรู้กับผู้ปกครอง มาใช้จริงในการทำงานได้

ประเมิน
ตัวเอง:ทำงานตามที่ครูสั่ง เสร็จและออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน ได้ ดาว 1 ดวง
เพื่อน:ตั้งใจทำกิจกรรมที่ครูสั่งกันอย่างสนุกสนาน อาจผิดบ้าง ถูกบ้าง
ครู:ครูแนะนำวิธีการที่ถูกต้องให้เป็นอย่างดี เนื้อหามีตัวอย่างให้ดู เข้าใจง่าย

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559

ความรู้ที่ได้รับ

บทที่ 4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ 

วีดีโอ "ไลท์นิ่ง ทอล์ค กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง" ตอน "อ่านแต่เล็ก เด็กฉลาด สมรรถนะดี" 

"ไลท์นิ่ง ทอล์ค กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง" 

ตอน "อ่านแต่เล็ก เด็กฉลาด สมรรถนะดี" 



บทที่ 4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ
โครงการการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
1.โครงการแม่สอนลูก
  • กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ 
  • จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน 
  • ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้ 
  • ใช้รูปแบบการทดองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน 
  • อาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล 
  • เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก 
2.โครงการ แม่สอนลูก
  • ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี 
  • ให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน 
  • ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล 
  • เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน 
  • แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา 
  • มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก 
3.การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
  • เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 
  • ต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี 
  • ใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ 
  1. วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม 
  2. วิธีการสนทนากลุ่ม 
  3. วิธีอภิปรายกลุ่ม 
  4. วิธีการบรรยาย 
4.โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
  • สำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต 
  • เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย 
  • ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ 
  • แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่ 
  • คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 
  • หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์ 
  • ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์” 
  • จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์” 
5.โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก”
  • สำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยา เสพติด 
  • ภายใต้คำขวัญ “พลังครอบครัวไทย ชนะภัยยาเสพติด” 
  • สร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน 
  • เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด 
  • โดยมีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ 
  1. ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์ 
  2. ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์ 
  3. สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น 
  4. กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกม กีฬา เป็นต้น 
6.โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)
  • โครงการหนังสือเล่มแรก เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 
  • โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก 
  • ซึ่งในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน 
  • ส่วนภาคเอกชนเริ่มดำเนินโครงการ “รวมพลัง รักการอ่าน” ขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกัน 
  • โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ 
  • สร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว 
  • ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่าน 
  • ประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ 
  • ทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ 
7.โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
  • กรมการพัฒนาชุมชน 
  • กรมการศึกษานอกโรงเรียน 
  • กรมอนามัย สำนักงานปรัดกระทรวงสาธารณสุข และอีกหลายหน่วยงาน 
  • วัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่สมาชิกในครอบครัวเยาวชนในท้องถิ่น 
  • เลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต มีพัฒนาการตามวัยต่อเนื่องสอดคล้องกับวิถีชีวิตครอบครัวและสังคมของเด็ก โดยมีกิจกรรมดังนี้ 
  1. การเตรียมชุมชน แก่การให้ความรู้แก่อาสาสมัคร แล้วไปถ่ายทอดให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง 
  2. จัดกลุ่มสนทนาให้แก่เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง สนทนาเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การผลิตของเล่นสำหรับเด็ก การเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดี เป็นต้น 
  3. จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีความรู้และทักษะในการเลี้ยงดูเด็กเพื่อเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดีต่อไป 
8.โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
  • กองสูตินารีเวชกรรม รพ.พระมงกุฎเกล้า 
  • เปิดบริการให้เตรียมความพร้อมแก่คู่สมรสที่กำลังเตรียมใช้ชีวิตคู่ 
  • ใช้ชื่อสถานบริการนี้ว่า “คลินิกให้คำปรึกษาก่อนสมรส” 
  • ดำเนินงานโดย พ.อ. นพ.วิวัฒน์ ศุภดิษฐ์ 
  • มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในสังคมไทย 
  • โดยจะให้การรักษาดูแลสุขภาพร่างกายให้แก่คู่สมรส 
  • จะให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงดูและการดูแลทารกด้วยนมแม่ 
9.โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองดังกล่าวเป็นรูปแบบของการพัฒนาศักยภาพของผู้ปกครองให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดู และส่งเสริมพัฒนาการตลอดจนการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก
  • สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้จัดทำแผนงานพัฒนาพ่อแม่ ผู้ปกครอง สมาชิกในครอบครัวและผู้ที่เตรียมตัวเป็นพ่อแม่ ดังนี้ 
  • สถานศึกษา รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงการพัฒนาเด็กปฐมวัย 
  • จัดบริการเสริมความรู้ ความเข้าใจ ฝึกทักษะให้เข้าใจในวิธีเลี้ยงดูเด็ก 
  • ส่งเสริมให้องค์กรของรัฐ เอกชน ท้องถิ่นจัดฝึกอบรม 
  • สนับสนุนโครงการต่างๆที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัย 
  • จัดให้มีวิธีการประเมินผลการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง 
โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
1.โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
  • ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง 
  • เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ 
  • จึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ 
  • พ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล 
  • การทำงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชนถือเป็นงานปกติที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามหน้าที่ 
2.โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัย  ที่เรียกว่า ALEH (Early Childhood Enrichment Center)  ศูนย์ ALEH จะมีกิจกรรมช่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง ดังนี้
  1. สอนแม่ที่อายุยังน้อยให้รู้จักใช่สื่อ-อุปกรณ์ 
  2. จัดกิจกรรมสอนให้แม่ทำของเล่นให้ลูกหรือคิดสร้างเกมการเล่นกับลูก 
  3. ประสานงานกับคลินิกครอบครัวแม่และเด็ก 
3.โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี
  • การจัดการศึกษานอกระบบแก่พ่อแม่ก็ว่าได้ โดยโครงการนี้ชื่อ HATAF โปรแกรม 
  • โครงการที่ร่วมมือกันทำระหว่างมหาวิทยาลัยเยรูซาเล็มกับกระทรวงศึกษาธิการ 
  • เป็นโครงการที่จัดรูปแบบการสอนพ่อแม่ที่มีลูกอายุ 1-3ปี 
  • ซึ่งกิจกรรมที่สอนพ่อแม่ผู้ปกครองก็คือ ให้พ่อแม่ได้พัฒนาทักษะการพูด-คุยกับลูก 
  • ได้เรียนรู้พัฒนาการทั้งทางด้านสติปัญญา อารมณ์และสังคม 
  • สอนให้พ่อแม่จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมให้ลูกอย่างง่ายๆ 
  • รู้จักใช้วัวดุในครัวเรือนและท้องถิ่นเป็นสื่อ –อุปกรณ์ 
  • สอนให้รู้จักจัดกิจกรรมการเล่นกับลูกที่มีอายุ 1-3 ปี 
4.โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก
  • จัดขึ้นสำหรับเด็ก 4-6 ปี พร้อมด้วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง 
  • วัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองใช้เวลาว่างร่วมกับลูก 
  • สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ และสนุกกับกิจกรรม-ผลงานที่ลูกสร้างขึ้น 
  • โดยมีวิทยากรเป็นครูจากเนสเซอรี่ หรือ รร.อนุบาลหรือผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ-ดนตรี เกมการศึกษา นาฏศิลป์ ร้องรำทำเพลง ฯลฯ 
  • ก่อนเริ่มกิจกรรมจะมีกรพูดคุยกับพ่อแม่ถึงกิจกรรมที่จะเล่นกับเด็ก 
  • เมื่อจบกิจกรรมก็จะมีการพูดคุยสรุปและประเมินผล 
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
           เมื่อปี ค.ศ. 1930 สหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อครอบครัว จึงได้มีการประชุมเรื่อง สุขภาพเด็กและแนวทางการแก้ไขปัญหา  โดยได้เสนอให้มีการจัดทำหลักสูตรการให้ความรู้ผู้ปกครองไว้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาของทุกรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
  1. เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย รวมทั้งลักษณะของชีวิตครอบครัว 
  2. ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก 
  3. ได้อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีที่มีต่อชีวิตครอบครัว 
  4. เพื่อให้เข้าใจลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา 
   กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการศึกษาเด็กด้วยการสนับสนุนให้ครอบครัวเข้ามามีบทบาทต่อการจัดการศึกษา โดยกำหนดให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 2 เรื่องคือ
1. ความพร้อมที่จะเรียน พ่อแม่จะต้องเตรียมความพร้อมให้ก่อนลูกจะเข้าเรียนและอุทิศเวลาแต่ละวันเพื่อช่วยลูกให้ได้เรียน
2. การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้กำหนดให้โรงเรียนทุกแห่งส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนที่จะทำให้ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของเด็กในด้านสังคม อารมณ์ และด้านวิชาการ

1.โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่
  • มีการจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ ขึ้นในทุกรัฐ 
  • ดำเนินงานนั้นให้ผ่านไปยังองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO) 
  • โดยให้การอบรมความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครอง ภายใต้คำนิยาม 
  • “การศึกษาของพ่อแม่ (Parent Education) 
  • “โครงการพ่อแม่ในฐานะครู” (Parents as Teachers Program) และ 
  • “โครงการสอนเด็กเล็กในบ้าน” (Home Instruction for Preschool Youngsters Program) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 
  1. ให้เข้าใจเรื่องความต้องการทางการศึกษาของเด็ก
  2. ให้สนับสนุนในการช่วยเหลือในการเรียนของเด็กจนประสบความสำเร็จ
  3. สามารถที่จะติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างครู ผู้บริหารและนักเรียน
  4. มีส่วนร่วมในการออกแบบรับความช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้มาโรงเรียน เช่น การให้บริการเอกสารในเรื่องต่างๆ
2.โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)
  • เป็นโครงการระดับชาติที่ให้บริการด้านพัฒนาการแก่เด็กอายุ 3-5 ปี 
  • พ่อแม่มีรายได้น้อย 
  • และบริการด้านสังคม สำหรับเด็กเน้นเรื่องการศึกษา พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม สุขภาพกาย จิตใจและโภชนาการ 
  • พื้นฐานสำคัญของโครงการนี้คือ การมีส่วนร่วมของพ่อแม่และชุมชน 
  • โครงการเฮมสตาร์ท มีฐานะเสมือนห้องปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 
  1. สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งในการอบรมเลี้ยงดูเด็กขั้นต้น
  2. เชื่อมโยงเด็กและครอบครัวต่อการบริการชุมชนที่มีความต้อการจำเป็น
  3. ประกันโครงการที่จัดการดีว่าพ่อแม่เด็กมีส่วนร่วมในการตกลงใจ
3.โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program)

  • เป็นการนำพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาของเด็กเล็กซึ่งอยู่ภายใต้โครงการใหญ่คือ เฮดสตาร์ท 
  • เป้าหมายคือเพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็กและชี้ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กเห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมของมารดาที่มีผลต่อการเรียนของเด็กด้อยโอกาสโดยช่วยเหลือสนับสนุนให้ครอบครัวมีความสามารถดูแลเด็กอย่างถูกต้องและมีสมรรถภาพ



4.โครงการสมาร์ท สตาร์ท
(Smart Start)
  • ก่อตั้งโดยนายจิม ฮั้น ผู้ว่าการมลรัฐแคโรไลนาเหนือ ในปี พ.ศ. 2536 
  • ได้จัดให้มีคณะทำงานศึกษาสาระปัญหาเด็กเล็ก 
  • ปัจจุบันกระทรวงทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้ดำเนินโครงการ 
  • โครงการนี้สร้างสรรค์ขึ้นจากความคิดริเริ่มด้านเด็กเล็กจากแรงผลักดันของท้องถิ่น ชุมชนรวมตัวกันเข้าเรียกร้องความต้องการให้เด็กเล็ก 
  • โดยมีเป้าหมายที่เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ให้มีสุขภาพและความพร้อมที่จะเรียนให้สำเร็จ 
5.โครงการ Brooklyne Early Childhood
  • เป็นโครงการที่ฝึกให้ผู้ปกครองเป็นครูในการสอนลูก 
  • ดำเนินการโดย Brooklyne Public School 
  • ได้รับความร่วมมือจากศูนย์การแพทย์ในโรงพยาบาลเด็ก 
  • จัดการศึกษาให้แก่ผู้ปกครอง 
  • มีการตรวจสุขภาพเด็กเบื้องต้นเพื่อให้สามารถรักษาดูแลความเจ็บป่วย ความพิการหรือข้อบกพร่องต่างๆ ในระยะต้นได้ 
  • ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกวิธี 
  • และวิธีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป 
  • ด้วยการฝึกให้เด็กเล่นรวมกลุ่ม 
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
   ประเทศนิวซีแลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาปฐมวัย โดยการศึกษาในระดับนี้จะให้โอกาสผู้ปกครองใช้สิทธิในฐานะหุ้นส่วนในการจัดการศึกษาปฐมวัย และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรหลาน ครูอนุบาลที่มีความสามารถจะให้โอกาสผู้ปกครองและครอบครัวแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก การเรียนการสอน และส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ปกครองอยู่ด้วยในช่วงที่มีการเรียน

1.โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์
  • พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด นับตั้งแต่การจัดตั้ง การบริหาร การดำเนินงาน 
  • มีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐบาลรับรอง 
  • สามารถจัดบริการให้แก่เด็กเล็กได้หนึ่งในสามของเด็กปฐมวัยทั้งหมดของประเทศ 
  • ปรัชญาในการทำงานคือ “พ่อแม่คือครูคนแรก และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก” 
2.โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
  • โรงเรียนจัดนิทรรศการสำหรับผู้ปกครอง 
  • เพื่ออธิบายถึงปรัชญาที่และนโยบายเรื่องประโยชน์ของการศึกษาที่มีต่อผู้ปกครอง 
  • มีการสำรวจความรู้ของผู้ปกครองเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยและจัดเตรียมแฟ้มข้อมูลข่าวสาร 
  • เพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ผู้ปกครองตลอดจนการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในการวางแผน จัดทำหลักสูตร การพัฒนาทักษะ การประเมินผลการเรียน และการประเมินผลการจัดการศึกษากับผู้ปกครอง 
3.โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)
  • ให้ข้อมูลแก่พ่อแม่ให้มีความรู้ความเข้าเข้าใจพัฒนาการของเด็กก่อนเกิดและตั้งแต่เกิดถึง 3 ขวบ 
  • รัฐบาลส่งเสริมให้พ่อแม่ทุกคนเข้าร่วมโครงการได้ตามความสมัครใจและไม่เสียค่าใช้จ่าย 
  • โครงการนี้จะคัดเลือกพ่อแม่ที่ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจอย่างดีมาเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เรียกว่า “พ่อแม่นักการศึกษา” 
  • พ่อแม่จะได้รับข้อมูลเช่น การสร้างประสบการณ์การศึกษาที่ตื่นเต้นแก่ลูกโดยไม่ต้องใช้ของเล่นราคาแพง 
  • การส่งเสริมให้ลูกรักการอ่านหนังสือ 
  • การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและสนุก 
  • การแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และการส่งเสริมให้ลูกพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพมากที่สุด 
โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
  • มีรูปแบบในการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในลักษณะที่เรียกว่า (Early Childhood Center) หรือ ศูนย์สุขภาพเด็ก (Baby Health Center) 
  • เป็นศูนย์ที่ให้บริการคำแนะนำฟรีสำหรับพ่อแม่และทารกจนถึง 5 ปี 
  • เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์จะเป็นพยาบาลทั่วไป 
  • จะทำการนัดหมายให้พ่อแม่พาลูกไปชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ดูพัฒนาการของลูก ไปเยี่ยมบ้าน โดยเฉพาะทารกที่มีปัญหา เช่น ตัวเหลืองรวมทั้งไปสอนการดูแลการอาบน้ำเด็กทารกจนกระทั่งแม่แข็งแรงดี 
  • มีการจดบันทึกข้อมูลเด็กลงในสมุดสีฟ้า (blue book) ซึ่งเด็กทุกคนต้องมีสมุดเล่มนี้ สำคัญเหมือนบัตรประชาชน 
  • ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกายและใจ โดยเฉพาะคุณแม่ที่เพิ่งมีลูกคนแรก 
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
  • โครงการ บุ๊คสตาร์ท หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก” ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ 
  • นับเป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก 
  • โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนาความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต 
  • ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ “ถุงบุ๊คสตาร์ท” 
ภายในถุงประกอบด้วย
  • หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว 2 เล่ม 
  • หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและโยงไปถึงการเลี้ยงดูด้วยหนังสือ 
  • ของชำร่วยสำหรับเด็ก เช่น ผ้ารองจานฯลฯ 
  • แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน 
  • บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก 
  • รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก 
  • รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก 
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)
  • เมื่อปี พ.ศ. 2543 ญี่ปุ่นประกาศให้เป็น “ปีแห่งการอ่านของเด็ก” 
  • มีการนำโครงการบุ๊คสตาร์ทของประเทศอังกฤษเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น 
  • โดยมีศูนย์สนับสนุนบุ๊คสตาร์ทเป็นเจ้าของโครงการ ด้วยหลักการและเหตุผลที่ว่า ภาษามีความสำคัญต่อการหล่อเลี้ยงจิตใจเด็ก เด็กเล็กต้องการอ้อมกอดอันอบอุ่นและเสียงพูดคุยอย่างอ่อนโยน 
  • โครงการบุ๊คสตาร์ทสนับสนุนสัมผัสอันอบอุ่นโดยมี “หนังสือภาพ” เป็นสื่อกลาง 
  • โดยทดลองที่เขตสุงินามิ ในกรุงโตเกียวเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 
  • ได้รับความร่วมมือจากศูนย์อนามัย 
  • ห้องสมุดและหน่วยงานสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็ก 
  • สามองค์กรร่วมกันแจกถุงบุ๊คสตาร์ทแก่แม่ที่พาลูกมาตรวจสุขภาพในช่วงอายุ 4 เดือน 
  • โดยมีเป้าหมาย 200 ครอบครัว และก็ได้มีการแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วในประเทศญี่ปุ่น 
   จากโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศที่ได้ยกตัวอย่างมานั้น จะเห็นได้ว่าทุกประเทศให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่เด็กปฐมวัย ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง เป็นวัยแห่งการเริ่มต้นที่ดีของชีวิต พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีคุณภาพในการดูแลเด็ก เพื่อให้เด็กได้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ

คำถามท้ายบท
1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ
2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ
4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ
5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ

การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำตัวอย่างกิจกรรมในสถานที่ต่างๆ มาประยุกต์ใช้ได้จริงกับประเทศไทย
  • สามารถนำวิธีการเรียนรู้พฤติกรรมผู้ปกครองไปใช้ในการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ในอนาคต
  • สามารถใช้ทฤษฏีมาอ้างอิงพฤติกรรมผู้ปกครองเพื่อการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับเด็กให้ผู้ปกครองได้เข้าใจอย่างถูกต้อง
ประเมินผล
ตนเอง : ร่วมกิจกรรมและเกมที่อาจารย์นำมา สนุกสนานมาก
เพื่อน : ร่วมกิจกรรมกันอย่างตั้งใจ มีความสุข สนุกสนาน บางกลุ่มอาจมาสาย
อาจารย์ : มีเกม กิจกรรม ให้มีส่วนร่วมทั้งชั้นเรียน บรรยากาศ สนุกสนาน น่าเรียน