บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2559
ความรู้ที่ได้รับ
การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
การพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์นั้นควรได้รับการดูแล ถ่ายทอดความคิด วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และค่านิยมที่ดีงามจากผู้ที่ถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญและใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์สมบูรณ์แบบ ควรเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิ อาจกล่าวได้ว่าบุคคลแรกที่สำคัญที่สุดในชีวิตของมนุษย์คือ พ่อ แม่ หรือผู้ปกครองความหมายของผู้ปกครองผู้ปกครองเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด ได้มีผู้ให้ความหมายของผู้ปกครองไว้ดังนี้- Summers Della กล่าวว่า ผู้ปกครอง หมายถึง พ่อหรือแม่ของบุคคล
- Encyclopedia อธิบายไว้ว่า ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นพ่อหรือผู้ที่เป็นแม่ ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ 1. ผู้ปกครองโดยสายเลือด 2. ผู้ปกครองโดยสังคม
- พรรณิดา สันติพงษ์ ได้อธิบายว่า ผู้ปกครอง หมายถึง บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับเด็ก โดยอยู่ร่วมกันในครอบครัวเดียวกันและมีส่วนในการอบรมสั่งสอน และเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก
- จินตนา ปัณฑวงศ์ ได้อธิบายว่า ผู้ปกครอง หมายถึง พ่อ แม่ หรือบุคคลอื่น อาจจะเป็นญาติมิตรหรือผู้อื่น ซึ่งพ่อแม่ไว้วางใจให้ทำหน้าที่อบรมเลี้ยงดูตลอดจนให้การศึกษาแก่เด็ก
ความสำคัญของผู้ปกครอง
- Lee Center and Marlene Center ได้กล่าวไว้ว่า ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุดต่อชีวิตของเด็ก ความรักและความอบอุ่นจากผู้ปกครองเป็นความต้องการของเด็กทุกคน ผู้ปกครองจึงเป็นบุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ของเด็ก
- Pestalozzi ได้กล่าวถึง ความสำคัญของพ่อแม่ ผู้ปกครองว่า ความรักของพ่อแม่เป็นพลังสำคัญในการเจริญเติบโตของเด็ก ความรักที่ประกอบด้วยเหตุผลและความมุ่งมั่นที่จะปลูกฝังสิ่งที่ดีงามให้แก่เด็กเป็นบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างแท้จริงความรักที่บริสุทธิ์และความสัมพันธ์ที่อบอุ่นกลมเกลียวกันในครอบครัว เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับเด็กในการพัฒนาความคิด ความรู้สึก และการกระทำที่สอดคล้องกัน ซึ่งเป็นรากฐานของชีวิตที่สมบูรณ์มั่นคงต่อไป
- ฉันทนา ภาคบงกช กล่าวว่า ผู้ปกครองเป็นบุคคลที่สำคัญในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเป็นผู้ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุดสามารถที่จะตองสนองความต้องการพื้นฐานของเด็ก ได้แก่ ความต้องการในการดำรงชีวิต ความต้องการความรักความอบอุ่น นอกจากนี้เด็กยังได้อิทธิพลจากสภาพแวดล้อมภายในครอบครัว เด็กจะมีพัฒนาการทางบุคลิกภาพอย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดูจากบ้านเป็นสำคัญ คุณภาพของเด็กมีผลมาจากการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองเป็นอย่างมาก
บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครอง
พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่มีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้สนับสนุนและวางรากฐานอันสำคัญยิ่งต่อการเจริญเติบโตของชีวิตมนุษย์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ภาวะแห่งความรับผิดชอบในการอบรมเลี้ยงดูและสายใยแห่งความผูกพันระหว่างพ่อแม่ ลูก เป็นพันธะที่จะต้องมีการดำเนินอย่างต่อเนื่อง เพื่อจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ การให้เด็กได้เจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเอง สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่าง มีความสุข
- Christine Ward ได้กล่าวถึง บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองว่า ผู้ปกครองเป็นผู้ที่ทำหน้าที่สำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการและทักษะการเรียนรู้ให้แก่เด็กตั้งแต่แรกเกิดเมื่อเด็กไปโรงเรียน ผู้ปกครองก็จะต้องเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการดูแลเด็กร่วมกับโรงเรียนในด้านการจัดการเรียนรู้การปฏิบัติหน้าที่ดูแลเด็กการจัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับโรงเรียน
- อารี สันหฉวี ได้เสนอบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการฝึกเด็กให้ขยัน ฉลาด และเป็นคนดี
- กุลยา ตันติผลาชีวะ กล่าวว่า บทบาทและหน้าที่ที่สำคัญของผู้ปกครองคือ ต้องตระหนักถึงธรรมชาติของเด็กที่มีความเฉพาะที่ต้องเข้าถึงเด็ก มีร่างกาย มีจิตใจ มีการพัฒนา มิใช้แต่ตัวเด็กเองแต่เป็นทั้งเพื่อครอบครัวและสังคม ดังนั้นหลักการเลี้ยงเด็กจึงมี 3 ประการ ดังนี้
- หลักการทางจิตวิทยา
- หลักการทางพัฒนาการ
- หลักการทางวุฒิภาวะ
- กรมวิชาการ ได้กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองไว้ดังนี้
บทบาทและหน้าที่ด้านการอบรมเลี้ยงดู
- เป็นแบบอย่างที่ดีของลูก
- ให้ความรักและความเข้าใจ
- เรียนรู้ร่วมกับเด็ก
- ยอมรับอารมณ์และความรู้สึกของลูก
- ฝึกให้ลูกรู้จักการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
- ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
ภารกิจของพ่อแม่ ผู้ปกครอง คือ การอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา บทบาทของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูเด็กมี 3 ประการ คือ
- เป็นผู้ให้การเลี้ยงดูเพื่อสร้างเสริมสุขภาพกายและใจที่ดีให้กับเด็ก
- เป็นผู้ให้การศึกษาเบื้องต้น
- เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา
บทบาทและหน้าที่ด้านการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
การศึกษา ทำความเข้าใจและแสวงหาประสบการณ์ว่าเด็กในแต่ละวันมีพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างไร พ่อแม่ ผู้ปกครอง สามารถส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้ลูกได้อย่างถูกวิธี ดังนี้
- ช่วยจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับกิจกรรมที่โรงเรียน
- ส่งเสริมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงให้มาก
- สนทนาให้ความเป็นกันเองกับเด็ก ป้อนคำถามให้เด็กได้คิดหาคำตอบ
- ชมเชยเมื่อเด็กทำความดี ทำได้ถูกต้อง ในขณะที่ทำผิดก็ต้องชี้แจงให้เด็กเข้าใจให้ถูกต้องก่อนที่เด็กจะจำวิธีการผิดๆ ไปใช้
- ให้เด็กมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ช่วยเหลืองานในบ้านที่เหมาะสมกับวัย
- ให้อิสระแก่เด็กบ้างในบางโอกาส
- สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดปัญญา
- คอยติดตามการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ของเด็ก โดยไม่เข้มงวดกวดขันจนเกินไป
- ติดต่อกับครูของเด็กเพื่อรับทราบปัญหาและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาก่อนที่จะสายเกินแก้
การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มนุษย์กับการศึกษาเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันตลอดชีวิต พ่อแม่ ผู้ปกครองถือเป็นบุคคลแรกที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่เด็กในแนวทางที่เหมาะสมและช่วยส่งเสริมการศึกษาให้แก่เด็กดังนี้
- ความอุทิศตน ในการมีเวลาให้กับลูกอย่างเต็มที่
- มีจุดมุ่งหมายสูงส่งเพื่อลูก
- ช่างสังเกตถี่ถ้วน
- ใช้สามัญสำนึกในการเลี้ยงลูก
- ปลูกฝังวินัย ความเป็นไทย
- ให้ความรักและสายสัมพันธ์ในครอบครัว
- ให้ความเอาใจใส่และเอื้ออาทรต่อลูก
- ทำตนให้เป็นแบบที่ดีแก่ลูก
- ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ในสังคมเกี่ยวกับการปฏิบัติตน
- ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัย
- ให้หลักธรรมในการพัฒนาเด็กด้วยหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
- ส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
- ศึกษาการเจริญเติบโตของเด็ก
- เอาใจใส่ดูแลสุขภาพ
- สนับสนุนเตรียมความพร้อมก่อนสู่สังคม
ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นซึ่งทำหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูเพื่อให้เด็กมีชีวิตที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา สามารถเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข บทบาทและหน้าที่ของผู้ที่เป็นผู้ปกครองเด็กปฐมวัยถือเป็นผู้ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการสร้างรากฐานของชีวิตในอนาคตกับเด็ก ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเด็กได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ และการส่งเสริมการศึกษา การที่ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการพัฒนาเด็ก ย่อมเป็นการทำให้ผู้ปกครองจำเป็นต้องแสวงหาองค์ความรู้ที่จำเป็นเพื่อนำมาปฏิบัติใช้ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กในด้านต่างๆ
คำถามท้ายบท
1.ในสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นักศึกษาคิดว่าบทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองที่มีต่อเด็กปฐมวัยมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ
1.ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
2.หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบระหว่างเด็กซึ่งอาจกระทบจิตใจและความรู้สึกของเด็ก
3.ควรหลีกเลี่ยงการสอนเด็ก ทดสอบความรู้ความสามารถเด็กเพื่อตัดสินเด็ก
4.ไม่ควรปักใจว่าเด็กหรือลูกเป็นเด็กอัจฉริยะเมื่อเด็กหรือลูกตอบคำถามได้ดีเข้าใจสิ่งต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
5.ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเต็มที่ ซึ่งจะมีผลต่อพัฒนาการรอบด้านของเด็ก
6.การดูแลสุขภาพอนามัยของเด็กปฐมวัย
7.การดูแลเด็กปฐมวัยให้ปลอดภัย
2.จงอธิบายวิธี แนวทางที่ผู้ปกครองสามารถใช้ในการส่งเสริมพัฒนาทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา ให้แก่เด็กปฐมวัย
ตอบ
1.รักและเอาใจใส่เด็ก
2.ช่วยให้เด็กมีโอกาสช่วยเหลือตนเอง
3.ให้เด็กรู้จักรอคอย อดทน อดกลั้น
4.ให้เด็กรู้จักปรับตัว เผชิญและแก้ปัญหาด้วยตนเอง
5.ให้เด็กมีโอกาสได้เล่น
6.ให้เด็กรู้จักให้รู้จักช่วยเหลือและเข้าใจผู้อื่น
1.รักและเอาใจใส่เด็ก
2.ช่วยให้เด็กมีโอกาสช่วยเหลือตนเอง
3.ให้เด็กรู้จักรอคอย อดทน อดกลั้น
4.ให้เด็กรู้จักปรับตัว เผชิญและแก้ปัญหาด้วยตนเอง
5.ให้เด็กมีโอกาสได้เล่น
6.ให้เด็กรู้จักให้รู้จักช่วยเหลือและเข้าใจผู้อื่น
3.การฝึกให้เด็กเป็นคนดี คนขยัน และฉลาด ผู้ปกครองควรปฏิบัติอย่างไร
ตอบ เป็นแบบอย่างที่ดีของลูก หาตัวอย่างที่ดี สอนให้ลูกได้คิดในสิ่งที่ดี และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้ลูก
4.ปัญหาที่เป็นอุปสรรคของผู้ปกครองที่มีผลกระทบต่อเด็กปฐมวัยคือปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องใด จงอธิบาย
ตอบ
1. ความเชื่อและค่านิยมที่ผิดของเพราะ ในประเทศไทยผู้ใหญ่มีความเชื่อว่าคนที่มีความรู้มากคือคนเก่ง และจะมีอนาคตที่ดี มีหน้าที่การงานที่ดี ซึ่งสิ่งที่จะวัดการมีความรู้ทางวิชาการหรือความเก่งได้นั้นก็คือคะแนน ดังนั้นผู้ปกครองจึงมุ่งเน้นให้เด็กเร่งเรียน และให้ความสำคัญกับการสอบและการแข่งขันสูงมาก เพื่อให้มั่นใจว่าเด็กจะมีความเก่งมากเพียงพอ ที่จะเป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งสาเหตุนี้นำไปสู่สาเหตุของปัญหาตามมาอีกมาหลายประการ
2.การเน้นการเรียนการสอนทางวิชาการในระดับปฐมวัย คือผลของความเชื่อที่ผิดของผู้ปกครอง ที่เห็นว่าความรู้ทางวิชาการเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นการแข่งขันทางการศึกษาจึงมีมากขึ้น โดยเด็กเล็กตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจะต้องเริ่มเรียนวิชาการเพื่อให้สามารถสอบเข้าชั้นประถมในโรงเรียนชั้นนำได้ ซึ่งหมายความว่าเด็กจะต้องอ่านออก เขียนได้ นับเลขเป็น และสำ หรับบางทีอาจถึงขั้นบวกลบเลขได้ตั้งแต่ในระดับชั้นปฐมวัย แต่นั่นกลับสร้างความเครียดและความกดดันให้เด็กมากขึ้น ทำให้เด็กหลายๆคนรู้สึกไม่ชอบ เบื่อการเรียน และไม่มีความสุขกับการเรียนเพื่อสอบ
3.การปิดกั้นการพัฒนาสมองของเด็กตามวัยที่เหมาะสม เมื่อการศึกษาในระดับปฐมวัยเน้นแต่ด้านวิชาการทำให้ระบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามนั้นทำให้เด็กมีโอกาสในการเล่น รวมถึงการเรียนทักษะต่างๆที่ควรฝึกในช่วงปฐมวัยลดลง เช่น การฝึกกล้ามเนื้อ การปลูกฝังมารยาทและจิตสำนึก หรือแม้แต่การฝึกการเข้าสังคมกับเพื่อน ๆในวัยเดียวกัน จากการวิจัยพบว่า เมื่อเด็กๆเริ่มเรียนวิชาการตั้งแต่ในระดับปฐมวัยในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดการปิดกั้นการพัฒนาสมองของเด็กในด้านอื่นๆ เช่น ความคิดสร้างสรรค์และการคิดแก้ปัญหา เพราะในความจริงแล้วเด็กปฐมวัยต้องการการฝึกฝนทักษะทางการสังเกต และการรันเอง ที่จะเป็นการเพิ่มความสามารถของพวกเขา เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สมองให้พัฒนาได้อย่างเต็มความ สามารถ ที่ทำให้เซลล์สมองสามารถแตกแขนงออกไปได้มาก เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาของช่วงต่อไปเมื่อโตขึ้น แต่เมื่อเด็กไม่ได้รับการฝึกทักษะทางด้านนี้อย่างเต็มที่ แต่กลับถูกจำกัดให้เรียนแต่ด้านวิชาการ ทำให้มีแค่เซลล์สมองส่วนความ จำเท่านั้นที่พัฒนา ในขณะที่เซลล์สมองอื่นๆของเด็กไม่แตกแขนง และไม่ได้พัฒนาอย่างที่ควรจะเป็นอย่างเหมาะสมตามวัยและเมื่อเลยวัยนี้ไปแล้ว ก็เป็นการยากที่จะกลับมาพัฒนาได้อีกรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ที่เกิดจากการได้เล่น ได้เรียนรู้ ทดลอง และลงมือทำด้วยตนเอง
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปใช้ในการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : เนื้อหามีครบถ้วน เข้าใจกระจ่าง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีข้อมูลที่ชัดเจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น