บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2559
ความรู้ที่ได้รับหลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยถือเป็นนโยบายที่สำคัญประการหนึ่งของการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน การให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจะช่วยทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองได้เรียนรู้และเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการพัฒนาเด็ก ทำให้ดำเนินงานทางการศึกษาระหว่างบ้านกับโรงเรียนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายทางการศึกษาทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างบ้านกับโรงเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
- Linda Bierstecker, 1992 กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง (parent education) หมายถึง การให้ผู้ปกครองได้เข้าใจว่าเด็กได้ทำกิจกรรมอะไรที่โรงเรียนอนุบาลหรือศูนย์เด็ก เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจวิธีการที่จะช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
- ฉันทนา ภาคบงกช (2531) กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นการทำความเข้าใจและสร้างทัศนคติที่ถูกต้องในการอบรมเลี้ยงดู ตลอดจนบทบาทหน้าที่ในการร่วมมือกันพัฒนาเด็กโดยใช้สื่อต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเด็กสำคัญ ดังนี้
2. เพื่อให้สามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ แก่เด็ก
- กุลยา ตันติผลาชีวะ (2544) กล่าวว่า การศึกษาสำหรับผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการเลี้ยงดูเด็กให้ถูกต้องและมีพัฒนาการที่ดี วิธีการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองนี้มีหลายวิธีทั้งทางตรงและทางอ้อม การจัดการศึกษาอาจกำหนดเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ขึ้นอยู่กับผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายการศึกษาสำหรับผู้ปกครองเป็นกระบวนการอย่างเป็นระบบที่จะสร้างให้ผู้ปกครองมีความรู้ของการเป็นผู้ปกครองและมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงกับโรงเรียนในการที่จะพัฒนาเด็กให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไปอย่างเต็มศักยภาพ
สรุปได้ว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม ทั้งในและนอกระบบ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต
ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
- Verna, 1972 กล่าวว่า การให้ความรู้ผู้ปกครอง จะช่วยให้ผู้ปกครองเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาซึ่งกันและกัน อันจะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งต่อกัน ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กเกิดความสับสน
- Galen, 1991 กล่าวว่า การให้ความรู้ผู้ปกครอง จะช่วยให้ผู้ปกครองได้รับข้อมูลที่ดีในการเลี้ยงดู และการเข้ามาเกี่ยวข้องกับการศึกษาของผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จได้
- อรุณี หรดาล (2536) กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความสำคัญดังนี้
2. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการอบรมเลี้ยงดู
3. ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงผลของการกระทำของตนเองที่จะมีต่อเด็กอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง
4. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย
5. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้และฝึกทักษะ เทคนิคและวิธีการจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
6. ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัย และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและผู้ปกครอง ซึ่งจะมีผลดีต่อตัวเด็กโดยตรง
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญที่มีต่อการศึกษาเด็กปฐมวัย สรุปได้ดังนี้
1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง
วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
2. เพื่อให้ผู้ปกครองและครูประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาเด็กร่วมกัน
3. เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงความต้องการของเด็กและสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านได้อย่างถูก
สรุปวัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยสรุปมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
2. เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
3. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
5. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน
รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
การจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา การให้ความรู้ผู้ปกครอง จึงมีความสำคัญที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ดำเนินงาน เพื่อจัดรูปแบบในการให้ความรู้เพื่อเข้าถึงเป้าหมาย รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถกระทำได้ด้วยวิธีการดังนี้
รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
2. กลุ่มขนาดเล็ก ส่วนมากจะจัดแบบไม่เป็นทางการ เช่น การพบปะสนทนา การประชุมกลุ่มย่อย การประชุมโต๊ะกลม การระดมสมอง ฯลฯ
1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง
วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
- Linda Bierstecker, 1992 ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองไว้ ดังนี้
2. เพื่อให้ผู้ปกครองและครูประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาเด็กร่วมกัน
3. เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงความต้องการของเด็กและสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านได้อย่างถูก
สรุปวัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยสรุปมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
2. เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
3. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
5. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน
รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
การจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา การให้ความรู้ผู้ปกครอง จึงมีความสำคัญที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ดำเนินงาน เพื่อจัดรูปแบบในการให้ความรู้เพื่อเข้าถึงเป้าหมาย รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถกระทำได้ด้วยวิธีการดังนี้
- การให้ความรู้แบบทางการ (formal) เช่น การบรรยาย การอภิปราย การโต้วาที ฯลฯ
- การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม การประชุมกลุ่มย่อย
รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
- อรุณี หรดาล (2536) ได้เสนอรูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองที่เหมาะสมกับสังคมไทย ควรมีลักษณะผสมผสานระหว่างรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาความรู้ และขนาดของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีอยู่ 5 ลักษณะ ดังนี้
2. กลุ่มขนาดเล็ก ส่วนมากจะจัดแบบไม่เป็นทางการ เช่น การพบปะสนทนา การประชุมกลุ่มย่อย การประชุมโต๊ะกลม การระดมสมอง ฯลฯ
3. กลุ่มขนาดใหญ่ อาจจัดได้หลายรูปแบบทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การบรรยาย การอภิปราย การประชุมเชิงปฏิบัติการ
4. ระดับชุมชน เช่น การบรรยาย การปาฐกถาหมู่ การโต้วาที การอภิปรายกลุ่ม การสนทนา ฯลฯ
5. ระดับมวลชน เช่น วิทยุ เทปเสียง วีดีทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์
2. ระดับโรงเรียน
3. ระดับชุมชน
4. ระดับมวลชน
จากรูปแบบดังกล่าวข้างต้นสามารถสรุปออกเป็นลักษณะของฐานการเรียนรู้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
1. การใช้บ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ (home base) เป็นการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครองถึงที่บ้าน เช่น การเยี่ยมบ้าน การส่งจดหมาย เอกสารถึงบ้าน การจัดทำโฮมสคูล (Home School)
2. การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการเรียนรู้ (school base) เป็นการจัดกิจกรรมความรู้ให้ผู้ปกครองที่โรงเรียน เช่น การจัดแสดงผลงานเด็ก การประชุม การจัดสัมมนา การจัดนิทรรศการ การจัดมุมผู้ปกครอง
3. การใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ (community vase) เป็นการเผยแพร่ความรู้ผ่านชุมชน เช่น หมู่บ้าน วัด โบสถ์ มัสยิด วิทยุ โทรทัศน์ ระบบอินเตอร์เน็ต วารสาร นิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมที่จัดโดยผ่านชุมชนประเภทต่างๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความสนใจที่สอดคล้องกับสภาพทางครอบครัว สังคม และวัฒนธรรมของตนเอง นับเป็นแนวทางให้ความรู้ที่เหมาะสมกับผู้ปกครองในสังคมยุคปัจจุบันมากขึ้น
แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
2. จัดบริการต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ปกครอง เช่น
4. ระดับชุมชน เช่น การบรรยาย การปาฐกถาหมู่ การโต้วาที การอภิปรายกลุ่ม การสนทนา ฯลฯ
5. ระดับมวลชน เช่น วิทยุ เทปเสียง วีดีทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์
- ฉันทนา ภาคบงกช (2531) ได้แบ่งรูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองแบบผสมผสานเพื่อให้เหมาะสมกับสังคมไทยเป็น 4 ระดับ ดังนี้
2. ระดับโรงเรียน
3. ระดับชุมชน
4. ระดับมวลชน
จากรูปแบบดังกล่าวข้างต้นสามารถสรุปออกเป็นลักษณะของฐานการเรียนรู้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
1. การใช้บ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ (home base) เป็นการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครองถึงที่บ้าน เช่น การเยี่ยมบ้าน การส่งจดหมาย เอกสารถึงบ้าน การจัดทำโฮมสคูล (Home School)
2. การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการเรียนรู้ (school base) เป็นการจัดกิจกรรมความรู้ให้ผู้ปกครองที่โรงเรียน เช่น การจัดแสดงผลงานเด็ก การประชุม การจัดสัมมนา การจัดนิทรรศการ การจัดมุมผู้ปกครอง
3. การใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ (community vase) เป็นการเผยแพร่ความรู้ผ่านชุมชน เช่น หมู่บ้าน วัด โบสถ์ มัสยิด วิทยุ โทรทัศน์ ระบบอินเตอร์เน็ต วารสาร นิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมที่จัดโดยผ่านชุมชนประเภทต่างๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความสนใจที่สอดคล้องกับสภาพทางครอบครัว สังคม และวัฒนธรรมของตนเอง นับเป็นแนวทางให้ความรู้ที่เหมาะสมกับผู้ปกครองในสังคมยุคปัจจุบันมากขึ้น
แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
- ฉันทนา ภาคบงกช (2531) ได้เสนอแนวทางในการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไว้ดังนี้
2. จัดบริการต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ปกครอง เช่น
- เชิญวิทยากรมาบรรยาย อภิปราย สาธิต
- จัดห้องสมุดและศูนย์ของเล่นสำหรับเด็ก
- จัดศูนย์แนะแนวผู้ปกครองเพื่อให้คำแนะนำ
- จัดตั้งชมรมหรือสมาคมผู้ปกครอง
- Linda Bierstecker, 1992 ได้เสนอแนวทางในการเตรียมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไว้ดังนี้
- การมีส่วนร่วมของสังคมเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
- บทบาทของผู้ปกครองในการร่วมกิจกรรม การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
- อรุณี หรดาล (2536) ได้กล่าวถึงบทบาทของผู้ปกครองไว้ ดังนี้
ในการจัดกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง สถานศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ผู้ปกครองได้ประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ ดังนั้นสถานศึกษาควรมีแนวปฏิบัติดังนี้
1. รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกที่ผู้ปกครองมีกับลูก
2. ขณะที่พูดคุยกับผู้ปกครองเด็ก ไม่ใช้เป็นการพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ควรพูดถึงในสิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาขึ้นมาก
3. ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือใช้คำศัพท์ทางวิชาการในการอธิบายพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง
ผู้ปกครองถือเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อความเจริญเติบโต พัฒนาการ การเรียนรู้ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็กปฐมวัย การที่ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ก็จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในชีวิตตั้งแต่เริ่มต้น การให้ความรู้ผู้ปกครองนับเป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานทุกฝ่าย เพื่อดำเนินการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้ผู้ปกครอง หน่วยงานที่มีบทบาทหลักในการให้ความรู้ แก่ผู้ปกครองคือ สถานศึกษา ซึ่งจะต้องดำเนินการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ การจัดการศึกษาของสถานศึกษา บทบาทของผู้ปกครองกับการศึกษาของเด็กทั้งที่บ้านและสถานศึกษา โดยดำเนินการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยเลือกรูปแบบวิธีการ ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการศึกษาของผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครอง รับประโยชน์สูงสุด ประกอบด้วย 3 รูปแบบ คือ บ้านเป็นฐานการเรียนรู้ โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ และชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้
คำถามท้ายบทที่ 2
1การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบันการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองมีความสำคัญอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ
- ได้เรียนรู้และเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการพัฒนาเด็ก
- ดำเนินงานทางการศึกษาระหว่างบ้านกับโรงเรียนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
- มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน
- สร้างเครือข่ายทางการศึกษาทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ตอบ การให้ความรู้แบบทางการ (formal) เช่น การบรรยาย การอภิปราย การโต้วาที ฯลฯ
การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม การประชุมกลุ่มย่อย
3.นักศึกษามีแนวคิดอย่างในการใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้ผู้ปกครอง
ตอบ การใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้เป็นสิ่งที่ดี เพราะบ้านคือสถานที่ที่เด็กและผู้ปกครองใช้ในการอยู่ร่วมกัน เคยชิน และใกล้ตัวเด็กมากที่สุด และเด็กใช้เวลาในการอยู่บ้านมากกว่าที่โรงเรียน จึงสามารถใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้ผู้ปกครองได้อย่างเหมาะสม
4.องค์ความรู้ที่จำเป็นในการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง
ตอบ
1.พัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก ประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ด้านสุขอนามัย
2.พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม ควบคุมอารฒ์ตนเองในการทำงานและการอยู่กับผู้อื่น มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง มีระเบียบวินัย การเล่นหรือทำงานเป็นกลุ่ม
3.พัฒนาการด้านสติปัญญา รับรู้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คิดแก้ปัญหา สร้างสรรค์ การจำ เข้าใจศัพท์ และการฝึกพูด ยึดระยะความสนใจ
4.พัฒนาการด้านคุณธรรมจริยธรรม ฝึกอบรมสั่งสอนให้เด็กประพฤติทั้งกาย วาจา ใจ รวมทั้งเป็นต้นแบบที่ดีให้เด็กปฏิบัติตาม
การประยุกต์
สามารถนำเนื้อหามาจัดกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไปใช้ได้จริงในอนาคต
ประเมิน
ตนเอง: เนื้อหาเยอะ อาจทำให้เสียสมาธิบ้าง
เพื่อน:เพื่อนตั้งใจเรียนดี
อาจารย์:มีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น