วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 วันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ

เกมการสื่อสาร
  1. เกมสื่อความหมาย : ตัวแทน 1 คน อ่านประโยคและทำท่า ส่งต่อจนครบ 5 คน
  2. เกมทายคำ: ตัวแทน 1 เป็นคนใบ้ 2 เป็นคนทาย 3 เป็นคนชูคำด้านหลัง
  3. เกมพรายกระซิบ : ตัวแทน 1 คน จำประโยค และบอกต่อจนครบ 5 คน 
  4. เกม ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร่ อย่างไร กับใคร : ตัวแทน 6 คน เขียน คนละ 5 ข้อ



ความหมายของการสื่อสาร

การสื่อสาร  (Communication) : คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา

ความสำคัญของการสื่อสาร

  • ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม 
  • ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
  • ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
  • ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
  • ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
รูปแบบของการสื่อสาร
  • รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of Communication)
  • รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication)
  • รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon & Weaver’s Model of Communication)
  • รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur Schramm’s )
  • รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication) 
  • รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of Communication)
  • รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication)
  • รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon & Weaver’s Model of Communication)
  • รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur Schramm’s )
  • รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication) 
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

สื่อ : ใช้วิธีพูด เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน  คลื่นวิทยุโทรทัศน์ ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพสาร : คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น  ข้อเท็จจริง  ข้อแนะนำ  การล้อเลียน  ความปรารถนาดี  ความห่วงใย  มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ  และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ
2. เพื่อความบันเทิงใจ
3. เพื่อชักจูงใจ

เกณฑ์ในการจำแนกประเภทการสื่อสาร 3 ประการ คือ
1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร

1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
  • การสื่อสารทางเดียว : การสื่อสารที่ข่าวสารจะถูกส่งจากผู้ส่งไปยังผู้รับในทิศทางเดียว 
  • การสื่อสารสองทาง : การสื่อสารที่มีการส่งข่าวสารตอบกลับไปมาระหว่างผู้สื่อสาร
2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
  •  การสื่อสารเชิงวัจนะ : การสื่อสารด้วยการใช้ภาษาพูด หรือเขียนเป็นคำพูด 
  • การสื่อสารเชิงอวัจนะ : การสื่อสารโดยใช้รหัสสัญญาณอย่างอื่น เช่น ภาษาท่าทาง 
ขอบข่ายครอบคลุมลักษณะการสื่อสารของมนุษย์ 3 ลักษณะ คือ
3.1 การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Communication)
3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
3.3 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)

การสื่อสารกับตนเอง
  • การสื่อสารที่บุคคลเดียวเป็นทั้งผู้ส่งสารและรับสาร
  • การคิดหาเหตุผลโต้แย้งกับตนเองในใจ
  • เนื้อหาไม่มีขอบเขตุจำกัด
  • บางครั้งมีเสียงพึมพำดังออกมาบ้าง
  • บางครั้งเกิดความขัดแย้งในใจและไม่อาจตัดสินใจได้
  • อาจเป็นการปลอบใจตนเอง การเตือนตนเอง การวางแผน หรือแก้ปัญหาใดๆ
การสื่อสารระหว่างบุคคล
  • บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไม่ถึงกับเป็นกลุ่ม
  • เป็นเรื่องเฉพาะระหว่างบุคคล อาจไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
  • อาจเป็นความลับระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารเท่านั้น
  • สารที่สื่ออาจเปิดเผยหากมีประโยชน์ต่อบุคคลอื่น
การสื่อสารสาธารณะ
  • มีเป้าหมายจะส่งสารสู่สาธารณชน
  • มีเนื้อหาที่อาจให้ความรู้และเป็นประโยชน์ ให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
  • เป็นความคิดที่มีคุณค่าและเปิดเผยได้โดยไม่จำกัดเวลา
  • เช่น การบรรยาย การปาฐกถา  การอมรม การสอนในชั้นเรียน
  • การสื่อสารมวลชน
ลักษณะสำคัญคล้ายการสื่อสารสาธารณะ
  • ต้องอาศัยสื่อที่มีอำนาจการกระจายสูง รวดเร็ว กว้างขวาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ดาวเทียมและสื่อมวลชน
  • ต้องคัดเลือกเฉพาะข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นที่เห็นว่าควรนำเสนอ
  • อาจสนองความต้องการและความจำเป็นของมวลชนมากหรือน้อยได้
การสื่อสารในครอบครัว
  • เป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐานของมนุษย์
  • ประสิทธิภาพของการสื่อสารขึ้นอยู่กับความตั้งใจดีของสมาชิกในครอบครัว
  • คุณธรรมที่ดีงามในครอบครัวจะช่วยพัฒนาการสื่อสารไปในทางดีงามเสมอ
  • ต้องยอมรับและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่แตกต่างกัน
  • คนต่างรุ่นต่างวัยในครอบครัวต้องพยายามทำความเข้าใจให้ตรงกัน
  • ควรคำนึงถึงมารยาทที่ดีงามอยู่เสมอ
การสื่อสารในโรงเรียน
  • ส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารกับบุคคลที่คุ้นเคย
  • เนื้อหามักเกี่ยวกับวิชาการ พื้นฐานอาชีพและหลักการดำเนินชีวิต
  • มีทั้งการสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารในกลุ่มและการสื่อสารสาธารณะ
  • อาจใช้เวลานานเพราะเรื่องราวมีปริมาณมาก
  • อาจมีโอกาสโต้แย้งถกเถียง ควรยอมรับข้อเท็จจริงและไม่ใช้อารมณ์
  • ข้อเท็จจริงและข้อสรุปบางเรื่องไม่ควรนำไปเผยแพร่
  • ควรระมัดระวังคำพูดและกิริยามารยาท
  • คุณธรรมด้านความซื่อสัตย์และการยอมรับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญ
การสื่อสารในวงสังคมทั่วไป
  •  เริ่มด้วยการทักทายตามสภาพของสังคมนั้นๆ
  •  การแสดงความยินดีหรือเสียใจ ไม่ควรมากหรือน้อยจนเกินไป
  •  การติดต่อกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อนควรพูดให้ตรงประเด็นและสุภาพพอควร
  •  การคบหากับชาวต่างประเทศ ควรศึกษาประเพณีและมารยาทที่สำคัญๆของกันและกัน
ธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง

  • ออเออร์บาค (Auerbach,1968) ได้กล่าวถึงธรรมชาติของผู้ปกครองไว้ดังนี้
  • ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้
  • ผู้ปกครองมีความต้องการที่จะเรียนรู้
  • ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาสนใจ
  • การเรียนรู้จะมีความหมายที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของผู้ปกครอง
  • การมีอิสระในการเรียนรู้จะทำให้ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุด
  • ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้จากกันและกัน
  • การให้ความรู้กับผู้ปกครองถือเป็นการให้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ปกครอง
ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
  • เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
  • เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
  • มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
  • เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
  • เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
  • ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
  • เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย
พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
  • ความพร้อม  คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้
  • ความต้องการ คือ ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข 
  • อารมณ์และการปรับตัว คือ  แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งทางบวกและลบ  
  • การจูงใจ คือ การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ 
  • การเสริมแรง คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง เช่น คำชมเชย รางวัล
  •  ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ 
  • ความถนัด คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร
  • ผู้ส่งข่าวสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี เช่นใช้ภาษาที่อยากแก่การเข้าใจ หรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ
  • ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป
  • ได้ข่าวสารไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้สื่อความหมายผิดๆ
  • ข้อมูลที่ส่งไปผ่านหลายขั้นตอน
  • เลือกใช้เครื่องมือในการส่งข่าวสารไม่เหมาะสม
  • รีบเร่งด่วนสรุปข่าวสารเร็วเกินไป ขาดการไตร่ตรอง
  • ผู้รับข่าวสารไม่ทบทวน หรือสอบถามให้เข้าใจเมื่อสงสัย
  • อารมณ์ของผู้รับ หรือผู้ส่งอยู่ในสภาพไม่ปกติ
  • ผู้ส่งหรือผู้รับมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
7 C กับการสื่อสารที่ดี
  • Credibility ความน่าเชื่อถือ 
  • Content เนื้อหาสาระ 
  • Clearly ความชัดเจน 
  • Context ความเหมาะสมกับโอกาส 
  • Channel ช่องทางการส่งสาร 
  • Continuity consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน 
  • Clarity of audience ความสามารถของผู้รับสาร
คุณธรรมในการสื่อสาร
  • คุณธรรม คือ ความดีงามที่มีอยู่ในตัวบุคคล
  • ต้องประกอบด้วยเหตุผลที่ดีของแต่ละบุคคล
  • เกิดจากการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก
  • เกิดจากการได้เห็น ได้ยิน ได้อ่าน
  • เกิดจากการได้เห็นพฤติกรรมของคนที่เคารพรักเป็นแบบอย่าง
  • ความมีสัจจะและไม่ล่วงละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน
  • ความรัก ความเคารพและความปรารถนาดีต่อกัน
  • ความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนพูดหรือกระทำ
พฤติกรรมด้านนอกของการสื่อสาร หมายถึงพฤติกรรมที่ปรากฏให้เห็นชัดเจน เช่นกิริยาอาการ  การเปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำ  การเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรรวมทั้ง รูปภาพ แผนภูมิและการใช้วัตถุต่างๆ
  • เป็นกิริยาวาจาที่เรียบร้อยถูกต้องตามคตินิยมของสังคม
  • วิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง
  • ศึกษาและพยายามทำตนให้เข้าใจกับผู้ปกครอง
  • พยายามเรียนรู้ความต้องการของเขา และหาแนวทางตอบสนองตามความเหมาะสม
  • พูดคุย พบปะกับผู้ปกครองในโอกาสต่างๆ
  • หาโอกาสไปร่วมงานพิธีทางศาสนา เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครอง
  • ทำตนให้กลมกลืนกับผู้ปกครอง
  • มีท่าทีเป็นมิตรอยู่เสมอ
  • เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองร่วมกิจกรรม
สรุป
  การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้งานการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ ผู้ที่เป็นครูจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการสื่อสารให้กระจ่างชัดเจน ประกอบกับการศึกษาธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครอง พฤติกรรมการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ทำการให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้ดีมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้านโรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กร่วมกัน


คำถามท้ายบท
1. จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ 
  • ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม 
  • ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
  • ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
  • ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
  • ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
2. การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้านโรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กร่วมกัน

3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ 

4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ 
  • เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
  • เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
  • มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
  • เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
  • เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
  • ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
  • เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย
5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง

ตอบ  
  • ความพร้อม  คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้
  • ความต้องการ คือ ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข 
  • อารมณ์และการปรับตัว คือ  แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งทางบวกและลบ  
  • การจูงใจ คือ การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ 
  • การเสริมแรง คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง เช่น คำชมเชย รางวัล
  • ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ 
  • ความถนัด คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การนำไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำเกมไปใช้สำหรับเข้าสู่บทเรียน
- สามารถนำวิธีการเรียนรู้พฤติกรรมผู้ปกครองไปใช้ในการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ในอนาคต
- สามารถใช้ทฤษฏีมาอ้างอิงพฤติกรรมผู้ปกครองเพื่อการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับเด็กให้ผู้ปกครองได้เข้าใจอย่างถูกต้อง

ประเมินผล
ตนเอง : ร่วมกิจกรรมและเกมที่อาจารย์นำมา สนุกสนานมาก
เพื่อน : ร่วมกิจกรรมกันอย่างตั้งใจ มีความสุข สนุกสนาน บางกลุ่มอาจมาสาย
อาจารย์ : มีเกม กิจกรรม ให้มีส่วนร่วมทั้งชั้นเรียน บรรยากาศ สนุกสนาน น่าเรียน

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2559
ความรู้ที่ได้รับ

หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

   การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยถือเป็นนโยบายที่สำคัญประการหนึ่งของการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน การให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจะช่วยทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองได้เรียนรู้และเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการพัฒนาเด็ก ทำให้ดำเนินงานทางการศึกษาระหว่างบ้านกับโรงเรียนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายทางการศึกษาทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างบ้านกับโรงเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
  • Linda Bierstecker, 1992 กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง (parent education) หมายถึง การให้ผู้ปกครองได้เข้าใจว่าเด็กได้ทำกิจกรรมอะไรที่โรงเรียนอนุบาลหรือศูนย์เด็ก เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจวิธีการที่จะช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ 
  • ฉันทนา ภาคบงกช (2531) กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นการทำความเข้าใจและสร้างทัศนคติที่ถูกต้องในการอบรมเลี้ยงดู ตลอดจนบทบาทหน้าที่ในการร่วมมือกันพัฒนาเด็กโดยใช้สื่อต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเด็กสำคัญ ดังนี้ 
1. เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติและความต้องการของเด็ก
2. เพื่อให้สามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ แก่เด็ก

  • กุลยา ตันติผลาชีวะ (2544) กล่าวว่า การศึกษาสำหรับผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการเลี้ยงดูเด็กให้ถูกต้องและมีพัฒนาการที่ดี วิธีการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองนี้มีหลายวิธีทั้งทางตรงและทางอ้อม การจัดการศึกษาอาจกำหนดเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ขึ้นอยู่กับผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายการศึกษาสำหรับผู้ปกครองเป็นกระบวนการอย่างเป็นระบบที่จะสร้างให้ผู้ปกครองมีความรู้ของการเป็นผู้ปกครองและมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงกับโรงเรียนในการที่จะพัฒนาเด็กให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไปอย่างเต็มศักยภาพ

สรุปได้ว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม ทั้งในและนอกระบบ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต


ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
  • Verna, 1972 กล่าวว่า การให้ความรู้ผู้ปกครอง จะช่วยให้ผู้ปกครองเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาซึ่งกันและกัน อันจะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งต่อกัน ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กเกิดความสับสน
  • Galen, 1991 กล่าวว่า การให้ความรู้ผู้ปกครอง จะช่วยให้ผู้ปกครองได้รับข้อมูลที่ดีในการเลี้ยงดู และการเข้ามาเกี่ยวข้องกับการศึกษาของผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จได้
  • อรุณี หรดาล (2536) กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความสำคัญดังนี้
1. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก
2. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการอบรมเลี้ยงดู
3. ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงผลของการกระทำของตนเองที่จะมีต่อเด็กอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง
4. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย
5. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้และฝึกทักษะ เทคนิคและวิธีการจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
6. ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัย และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและผู้ปกครอง ซึ่งจะมีผลดีต่อตัวเด็กโดยตรง
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญที่มีต่อการศึกษาเด็กปฐมวัย สรุปได้ดังนี้
1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง

วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
  • Linda Bierstecker, 1992 ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองไว้ ดังนี้
1. เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจวิธีดูแลเด็กและการจัดกิจกรรมของโรงเรียน
2. เพื่อให้ผู้ปกครองและครูประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาเด็กร่วมกัน
3. เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงความต้องการของเด็กและสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านได้อย่างถูก

สรุปวัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยสรุปมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
2. เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
3. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
5. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน

รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
   การจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา การให้ความรู้ผู้ปกครอง จึงมีความสำคัญที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ดำเนินงาน เพื่อจัดรูปแบบในการให้ความรู้เพื่อเข้าถึงเป้าหมาย รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถกระทำได้ด้วยวิธีการดังนี้

  • การให้ความรู้แบบทางการ (formal) เช่น การบรรยาย การอภิปราย การโต้วาที ฯลฯ
  • การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม การประชุมกลุ่มย่อย

รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
  • อรุณี หรดาล (2536) ได้เสนอรูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองที่เหมาะสมกับสังคมไทย ควรมีลักษณะผสมผสานระหว่างรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาความรู้ และขนาดของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีอยู่ 5 ลักษณะ ดังนี้
1. เป็นรายบุคคล ส่วนมากจะจัดแบบไม่เป็นทางการ เช่น การเยี่ยมบ้าน การสนทนาซักถาม ฯลฯ
2. กลุ่มขนาดเล็ก  ส่วนมากจะจัดแบบไม่เป็นทางการ เช่น การพบปะสนทนา การประชุมกลุ่มย่อย การประชุมโต๊ะกลม การระดมสมอง ฯลฯ
3. กลุ่มขนาดใหญ่ อาจจัดได้หลายรูปแบบทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การบรรยาย การอภิปราย การประชุมเชิงปฏิบัติการ
4. ระดับชุมชน เช่น การบรรยาย การปาฐกถาหมู่ การโต้วาที การอภิปรายกลุ่ม การสนทนา ฯลฯ
5. ระดับมวลชน เช่น วิทยุ เทปเสียง วีดีทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์
  • ฉันทนา ภาคบงกช (2531) ได้แบ่งรูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองแบบผสมผสานเพื่อให้เหมาะสมกับสังคมไทยเป็น 4 ระดับ ดังนี้
1. ระดับห้องเรียน
2. ระดับโรงเรียน
3. ระดับชุมชน
4. ระดับมวลชน

ากรูปแบบดังกล่าวข้างต้นสามารถสรุปออกเป็นลักษณะของฐานการเรียนรู้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
1. การใช้บ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ (home base) เป็นการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครองถึงที่บ้าน เช่น การเยี่ยมบ้าน การส่งจดหมาย เอกสารถึงบ้าน การจัดทำโฮมสคูล (Home School)
2. การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการเรียนรู้ (school base) เป็นการจัดกิจกรรมความรู้ให้ผู้ปกครองที่โรงเรียน เช่น การจัดแสดงผลงานเด็ก การประชุม การจัดสัมมนา การจัดนิทรรศการ การจัดมุมผู้ปกครอง
3. การใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ (community vase) เป็นการเผยแพร่ความรู้ผ่านชุมชน เช่น หมู่บ้าน วัด โบสถ์ มัสยิด วิทยุ โทรทัศน์ ระบบอินเตอร์เน็ต วารสาร นิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมที่จัดโดยผ่านชุมชนประเภทต่างๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความสนใจที่สอดคล้องกับสภาพทางครอบครัว สังคม และวัฒนธรรมของตนเอง นับเป็นแนวทางให้ความรู้ที่เหมาะสมกับผู้ปกครองในสังคมยุคปัจจุบันมากขึ้น

แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
  • ฉันทนา ภาคบงกช (2531) ได้เสนอแนวทางในการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไว้ดังนี้
1. สำรวจความสนใจ ความต้องการ รวมทั้งปัญหาต่างๆ ในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก โดยการสัมภาษณ์หรือใช้แบบสอบถาม
2. จัดบริการต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ปกครอง เช่น

  • เชิญวิทยากรมาบรรยาย อภิปราย สาธิต
  • จัดห้องสมุดและศูนย์ของเล่นสำหรับเด็ก
  • จัดศูนย์แนะแนวผู้ปกครองเพื่อให้คำแนะนำ
  • จัดตั้งชมรมหรือสมาคมผู้ปกครอง

  • Linda Bierstecker, 1992 ได้เสนอแนวทางในการเตรียมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไว้ดังนี้
  1. การมีส่วนร่วมของสังคมเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
  2. บทบาทของผู้ปกครองในการร่วมกิจกรรม การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
  • อรุณี หรดาล (2536) ได้กล่าวถึงบทบาทของผู้ปกครองไว้ ดังนี้
แนวปฏิบัติของสถานศึกษา
         ในการจัดกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง สถานศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ผู้ปกครองได้ประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ ดังนั้นสถานศึกษาควรมีแนวปฏิบัติดังนี้
1. รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกที่ผู้ปกครองมีกับลูก
2. ขณะที่พูดคุยกับผู้ปกครองเด็ก ไม่ใช้เป็นการพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ควรพูดถึงในสิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาขึ้นมาก
3. ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือใช้คำศัพท์ทางวิชาการในการอธิบายพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง

            ผู้ปกครองถือเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อความเจริญเติบโต พัฒนาการ การเรียนรู้ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็กปฐมวัย การที่ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ก็จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในชีวิตตั้งแต่เริ่มต้น การให้ความรู้ผู้ปกครองนับเป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานทุกฝ่าย เพื่อดำเนินการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้ผู้ปกครอง หน่วยงานที่มีบทบาทหลักในการให้ความรู้ แก่ผู้ปกครองคือ สถานศึกษา ซึ่งจะต้องดำเนินการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ การจัดการศึกษาของสถานศึกษา บทบาทของผู้ปกครองกับการศึกษาของเด็กทั้งที่บ้านและสถานศึกษา โดยดำเนินการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยเลือกรูปแบบวิธีการ ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการศึกษาของผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครอง รับประโยชน์สูงสุด ประกอบด้วย 3 รูปแบบ คือ บ้านเป็นฐานการเรียนรู้ โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ และชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้

คำถามท้ายบทที่ 2
1การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบันการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองมีความสำคัญอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ
  • ได้เรียนรู้และเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการพัฒนาเด็ก 
  • ดำเนินงานทางการศึกษาระหว่างบ้านกับโรงเรียนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 
  • มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน 
  • สร้างเครือข่ายทางการศึกษาทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างบ้านกับโรงเรียน 
2.ในสถานศึกษาปฐมวัยสามารถดำเนินกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองในลักษณะหรือรูปแบบใดบ้าง จงอธิบาย และยกตัวอย่างของกิจกรรม
ตอบ    การให้ความรู้แบบทางการ (formal) เช่น การบรรยาย การอภิปราย การโต้วาที ฯลฯ
การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม การประชุมกลุ่มย่อย

3.นักศึกษามีแนวคิดอย่างในการใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้ผู้ปกครอง
ตอบ การใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้เป็นสิ่งที่ดี เพราะบ้านคือสถานที่ที่เด็กและผู้ปกครองใช้ในการอยู่ร่วมกัน เคยชิน และใกล้ตัวเด็กมากที่สุด และเด็กใช้เวลาในการอยู่บ้านมากกว่าที่โรงเรียน จึงสามารถใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้ผู้ปกครองได้อย่างเหมาะสม

4.องค์ความรู้ที่จำเป็นในการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง
ตอบ

1.พัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก ประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ด้านสุขอนามัย
2.พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม ควบคุมอารฒ์ตนเองในการทำงานและการอยู่กับผู้อื่น มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง มีระเบียบวินัย การเล่นหรือทำงานเป็นกลุ่ม
3.พัฒนาการด้านสติปัญญา รับรู้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คิดแก้ปัญหา สร้างสรรค์ การจำ เข้าใจศัพท์ และการฝึกพูด ยึดระยะความสนใจ
4.พัฒนาการด้านคุณธรรมจริยธรรม ฝึกอบรมสั่งสอนให้เด็กประพฤติทั้งกาย วาจา ใจ รวมทั้งเป็นต้นแบบที่ดีให้เด็กปฏิบัติตาม

การประยุกต์
   สามารถนำเนื้อหามาจัดกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไปใช้ได้จริงในอนาคต

ประเมิน
ตนเอง: เนื้อหาเยอะ อาจทำให้เสียสมาธิบ้าง
เพื่อน:เพื่อนตั้งใจเรียนดี
อาจารย์:มีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1 วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2559
ความรู้ที่ได้รับ


การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
   การพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์นั้นควรได้รับการดูแล ถ่ายทอดความคิด วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และค่านิยมที่ดีงามจากผู้ที่ถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญและใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์สมบูรณ์แบบ ควรเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิ อาจกล่าวได้ว่าบุคคลแรกที่สำคัญที่สุดในชีวิตของมนุษย์คือ พ่อ แม่ หรือผู้ปกครองความหมายของผู้ปกครองผู้ปกครองเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด ได้มีผู้ให้ความหมายของผู้ปกครองไว้ดังนี้
  • Summers Della กล่าวว่า ผู้ปกครอง หมายถึง พ่อหรือแม่ของบุคคล 
  • Encyclopedia  อธิบายไว้ว่า ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นพ่อหรือผู้ที่เป็นแม่ ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ 1. ผู้ปกครองโดยสายเลือด 2. ผู้ปกครองโดยสังคม 
  • พรรณิดา สันติพงษ์ ได้อธิบายว่า ผู้ปกครอง หมายถึง บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับเด็ก โดยอยู่ร่วมกันในครอบครัวเดียวกันและมีส่วนในการอบรมสั่งสอน และเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก 
  • จินตนา ปัณฑวงศ์ ได้อธิบายว่า ผู้ปกครอง หมายถึง พ่อ แม่ หรือบุคคลอื่น อาจจะเป็นญาติมิตรหรือผู้อื่น ซึ่งพ่อแม่ไว้วางใจให้ทำหน้าที่อบรมเลี้ยงดูตลอดจนให้การศึกษาแก่เด็ก 
สรุปได้ว่า ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นที่ให้การอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในการดูแล ดังนั้นในการกล่าวถึงผู้ปกครองจึงมีความหมายรวมถึงบุคคลที่เป็นพ่อและแม่ด้วย
ความสำคัญของผู้ปกครอง
  • Lee Center and Marlene Center ได้กล่าวไว้ว่า ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุดต่อชีวิตของเด็ก ความรักและความอบอุ่นจากผู้ปกครองเป็นความต้องการของเด็กทุกคน ผู้ปกครองจึงเป็นบุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ของเด็ก 
  • Pestalozzi ได้กล่าวถึง ความสำคัญของพ่อแม่ ผู้ปกครองว่า ความรักของพ่อแม่เป็นพลังสำคัญในการเจริญเติบโตของเด็ก ความรักที่ประกอบด้วยเหตุผลและความมุ่งมั่นที่จะปลูกฝังสิ่งที่ดีงามให้แก่เด็กเป็นบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างแท้จริงความรักที่บริสุทธิ์และความสัมพันธ์ที่อบอุ่นกลมเกลียวกันในครอบครัว เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับเด็กในการพัฒนาความคิด ความรู้สึก และการกระทำที่สอดคล้องกัน ซึ่งเป็นรากฐานของชีวิตที่สมบูรณ์มั่นคงต่อไป 
  • ฉันทนา ภาคบงกช กล่าวว่า ผู้ปกครองเป็นบุคคลที่สำคัญในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเป็นผู้ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุดสามารถที่จะตองสนองความต้องการพื้นฐานของเด็ก ได้แก่ ความต้องการในการดำรงชีวิต ความต้องการความรักความอบอุ่น นอกจากนี้เด็กยังได้อิทธิพลจากสภาพแวดล้อมภายในครอบครัว เด็กจะมีพัฒนาการทางบุคลิกภาพอย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดูจากบ้านเป็นสำคัญ คุณภาพของเด็กมีผลมาจากการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองเป็นอย่างมาก 
   จากความสำคัญของผู้ปกครองดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ผู้ปกครองมีความสำคัญซึ่งมีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้ที่มีความหมายต่อชีวิตเด็กทั้งการเจริญเติบโตทางร่างกายและจิตใจเป็นผู้ที่เด็กมอบความรักด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผู้ปกครองจึงเป็นผู้นำที่จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่เหมาะสม เพื่อการก้าวสู่โลกกว้างได้อย่างมั่นคงและมีความพร้อมในทุกด้านจึงถือว่าผู้ปกครองเป็นผู้เสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วยความรัก ความเข้าใจให้แก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัยเป็นรากฐานอนาคตของสังคมให้มีความสมบูรณ์และแข็งแรง

บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครอง       
   พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่มีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้สนับสนุนและวางรากฐานอันสำคัญยิ่งต่อการเจริญเติบโตของชีวิตมนุษย์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ภาวะแห่งความรับผิดชอบในการอบรมเลี้ยงดูและสายใยแห่งความผูกพันระหว่างพ่อแม่ ลูก เป็นพันธะที่จะต้องมีการดำเนินอย่างต่อเนื่อง เพื่อจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ การให้เด็กได้เจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเอง สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่าง มีความสุข
  • Christine Ward ได้กล่าวถึง บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองว่า ผู้ปกครองเป็นผู้ที่ทำหน้าที่สำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการและทักษะการเรียนรู้ให้แก่เด็กตั้งแต่แรกเกิดเมื่อเด็กไปโรงเรียน ผู้ปกครองก็จะต้องเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการดูแลเด็กร่วมกับโรงเรียนในด้านการจัดการเรียนรู้การปฏิบัติหน้าที่ดูแลเด็กการจัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับโรงเรียน 
  • อารี สันหฉวี ได้เสนอบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการฝึกเด็กให้ขยัน ฉลาด และเป็นคนดี 
  • กุลยา ตันติผลาชีวะ  กล่าวว่า บทบาทและหน้าที่ที่สำคัญของผู้ปกครองคือ ต้องตระหนักถึงธรรมชาติของเด็กที่มีความเฉพาะที่ต้องเข้าถึงเด็ก มีร่างกาย มีจิตใจ มีการพัฒนา มิใช้แต่ตัวเด็กเองแต่เป็นทั้งเพื่อครอบครัวและสังคม ดังนั้นหลักการเลี้ยงเด็กจึงมี 3 ประการ ดังนี้ 
  1. หลักการทางจิตวิทยา
  2. หลักการทางพัฒนาการ
  3. หลักการทางวุฒิภาวะ
  • กรมวิชาการ  ได้กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองไว้ดังนี้ 
  1. เป็นแบบอย่างที่ดีของลูก 
  2. ให้ความรักและความเข้าใจ 
  3. เรียนรู้ร่วมกับเด็ก 
  4. ยอมรับอารมณ์และความรู้สึกของลูก 
  5. ฝึกให้ลูกรู้จักการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี 
  6. ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
บทบาทและหน้าที่ด้านการอบรมเลี้ยงดู
   ภารกิจของพ่อแม่ ผู้ปกครอง คือ การอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา บทบาทของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูเด็กมี 3 ประการ คือ
  1. เป็นผู้ให้การเลี้ยงดูเพื่อสร้างเสริมสุขภาพกายและใจที่ดีให้กับเด็ก 
  2. เป็นผู้ให้การศึกษาเบื้องต้น 
  3. เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา 

บทบาทและหน้าที่ด้านการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
   การศึกษา ทำความเข้าใจและแสวงหาประสบการณ์ว่าเด็กในแต่ละวันมีพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างไร พ่อแม่ ผู้ปกครอง สามารถส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้ลูกได้อย่างถูกวิธี ดังนี้
  • ช่วยจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับกิจกรรมที่โรงเรียน 
  • ส่งเสริมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงให้มาก 
  • สนทนาให้ความเป็นกันเองกับเด็ก ป้อนคำถามให้เด็กได้คิดหาคำตอบ 
  • ชมเชยเมื่อเด็กทำความดี ทำได้ถูกต้อง ในขณะที่ทำผิดก็ต้องชี้แจงให้เด็กเข้าใจให้ถูกต้องก่อนที่เด็กจะจำวิธีการผิดๆ ไปใช้ 
  • ให้เด็กมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ช่วยเหลืองานในบ้านที่เหมาะสมกับวัย 
  • ให้อิสระแก่เด็กบ้างในบางโอกาส 
  • สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดปัญญา 
  • คอยติดตามการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ของเด็ก โดยไม่เข้มงวดกวดขันจนเกินไป 
  • ติดต่อกับครูของเด็กเพื่อรับทราบปัญหาและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาก่อนที่จะสายเกินแก้ 
บทบาทและหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษา
   การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มนุษย์กับการศึกษาเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันตลอดชีวิต พ่อแม่ ผู้ปกครองถือเป็นบุคคลแรกที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่เด็กในแนวทางที่เหมาะสมและช่วยส่งเสริมการศึกษาให้แก่เด็กดังนี้
  • ความอุทิศตน ในการมีเวลาให้กับลูกอย่างเต็มที่ 
  • มีจุดมุ่งหมายสูงส่งเพื่อลูก 
  • ช่างสังเกตถี่ถ้วน 
  • ใช้สามัญสำนึกในการเลี้ยงลูก 
  • ปลูกฝังวินัย ความเป็นไทย 
สรุปบทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง 10 ประการ
  1. ให้ความรักและสายสัมพันธ์ในครอบครัว 
  2. ให้ความเอาใจใส่และเอื้ออาทรต่อลูก 
  3. ทำตนให้เป็นแบบที่ดีแก่ลูก 
  4. ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ในสังคมเกี่ยวกับการปฏิบัติตน 
  5. ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัย 
  6. ให้หลักธรรมในการพัฒนาเด็กด้วยหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) 
  7. ส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย 
  8. ศึกษาการเจริญเติบโตของเด็ก 
  9. เอาใจใส่ดูแลสุขภาพ 
  10. สนับสนุนเตรียมความพร้อมก่อนสู่สังคม 
บทสรุป  
   ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นซึ่งทำหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูเพื่อให้เด็กมีชีวิตที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา สามารถเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข บทบาทและหน้าที่ของผู้ที่เป็นผู้ปกครองเด็กปฐมวัยถือเป็นผู้ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการสร้างรากฐานของชีวิตในอนาคตกับเด็ก ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเด็กได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ และการส่งเสริมการศึกษา การที่ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการพัฒนาเด็ก ย่อมเป็นการทำให้ผู้ปกครองจำเป็นต้องแสวงหาองค์ความรู้ที่จำเป็นเพื่อนำมาปฏิบัติใช้ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กในด้านต่างๆ

คำถามท้ายบท
1.ในสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นักศึกษาคิดว่าบทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองที่มีต่อเด็กปฐมวัยมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ

1.ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
2.หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบระหว่างเด็กซึ่งอาจกระทบจิตใจและความรู้สึกของเด็ก
3.ควรหลีกเลี่ยงการสอนเด็ก ทดสอบความรู้ความสามารถเด็กเพื่อตัดสินเด็ก
4.ไม่ควรปักใจว่าเด็กหรือลูกเป็นเด็กอัจฉริยะเมื่อเด็กหรือลูกตอบคำถามได้ดีเข้าใจสิ่งต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
5.ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเต็มที่ ซึ่งจะมีผลต่อพัฒนาการรอบด้านของเด็ก
6.การดูแลสุขภาพอนามัยของเด็กปฐมวัย
7.การดูแลเด็กปฐมวัยให้ปลอดภัย

2.จงอธิบายวิธี แนวทางที่ผู้ปกครองสามารถใช้ในการส่งเสริมพัฒนาทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา ให้แก่เด็กปฐมวัย
ตอบ

1.รักและเอาใจใส่เด็ก
2.ช่วยให้เด็กมีโอกาสช่วยเหลือตนเอง
3.ให้เด็กรู้จักรอคอย อดทน อดกลั้น
4.ให้เด็กรู้จักปรับตัว เผชิญและแก้ปัญหาด้วยตนเอง
5.ให้เด็กมีโอกาสได้เล่น
6.ให้เด็กรู้จักให้รู้จักช่วยเหลือและเข้าใจผู้อื่น

3.การฝึกให้เด็กเป็นคนดี คนขยัน และฉลาด ผู้ปกครองควรปฏิบัติอย่างไร
ตอบ เป็นแบบอย่างที่ดีของลูก หาตัวอย่างที่ดี สอนให้ลูกได้คิดในสิ่งที่ดี และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้ลูก

4.ปัญหาที่เป็นอุปสรรคของผู้ปกครองที่มีผลกระทบต่อเด็กปฐมวัยคือปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องใด จงอธิบาย
ตอบ

1. ความเชื่อและค่านิยมที่ผิดของเพราะ ในประเทศไทยผู้ใหญ่มีความเชื่อว่าคนที่มีความรู้มากคือคนเก่ง และจะมีอนาคตที่ดี มีหน้าที่การงานที่ดี ซึ่งสิ่งที่จะวัดการมีความรู้ทางวิชาการหรือความเก่งได้นั้นก็คือคะแนน ดังนั้นผู้ปกครองจึงมุ่งเน้นให้เด็กเร่งเรียน และให้ความสำคัญกับการสอบและการแข่งขันสูงมาก เพื่อให้มั่นใจว่าเด็กจะมีความเก่งมากเพียงพอ ที่จะเป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งสาเหตุนี้นำไปสู่สาเหตุของปัญหาตามมาอีกมาหลายประการ

2.การเน้นการเรียนการสอนทางวิชาการในระดับปฐมวัย คือผลของความเชื่อที่ผิดของผู้ปกครอง ที่เห็นว่าความรู้ทางวิชาการเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นการแข่งขันทางการศึกษาจึงมีมากขึ้น โดยเด็กเล็กตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจะต้องเริ่มเรียนวิชาการเพื่อให้สามารถสอบเข้าชั้นประถมในโรงเรียนชั้นนำได้ ซึ่งหมายความว่าเด็กจะต้องอ่านออก เขียนได้ นับเลขเป็น และสำ หรับบางทีอาจถึงขั้นบวกลบเลขได้ตั้งแต่ในระดับชั้นปฐมวัย แต่นั่นกลับสร้างความเครียดและความกดดันให้เด็กมากขึ้น ทำให้เด็กหลายๆคนรู้สึกไม่ชอบ เบื่อการเรียน และไม่มีความสุขกับการเรียนเพื่อสอบ

3.การปิดกั้นการพัฒนาสมองของเด็กตามวัยที่เหมาะสม เมื่อการศึกษาในระดับปฐมวัยเน้นแต่ด้านวิชาการทำให้ระบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามนั้นทำให้เด็กมีโอกาสในการเล่น รวมถึงการเรียนทักษะต่างๆที่ควรฝึกในช่วงปฐมวัยลดลง เช่น การฝึกกล้ามเนื้อ การปลูกฝังมารยาทและจิตสำนึก หรือแม้แต่การฝึกการเข้าสังคมกับเพื่อน ๆในวัยเดียวกัน จากการวิจัยพบว่า เมื่อเด็กๆเริ่มเรียนวิชาการตั้งแต่ในระดับปฐมวัยในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดการปิดกั้นการพัฒนาสมองของเด็กในด้านอื่นๆ เช่น ความคิดสร้างสรรค์และการคิดแก้ปัญหา เพราะในความจริงแล้วเด็กปฐมวัยต้องการการฝึกฝนทักษะทางการสังเกต และการรันเอง ที่จะเป็นการเพิ่มความสามารถของพวกเขา เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สมองให้พัฒนาได้อย่างเต็มความ สามารถ ที่ทำให้เซลล์สมองสามารถแตกแขนงออกไปได้มาก เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาของช่วงต่อไปเมื่อโตขึ้น แต่เมื่อเด็กไม่ได้รับการฝึกทักษะทางด้านนี้อย่างเต็มที่ แต่กลับถูกจำกัดให้เรียนแต่ด้านวิชาการ ทำให้มีแค่เซลล์สมองส่วนความ จำเท่านั้นที่พัฒนา ในขณะที่เซลล์สมองอื่นๆของเด็กไม่แตกแขนง และไม่ได้พัฒนาอย่างที่ควรจะเป็นอย่างเหมาะสมตามวัยและเมื่อเลยวัยนี้ไปแล้ว ก็เป็นการยากที่จะกลับมาพัฒนาได้อีกรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ที่เกิดจากการได้เล่น ได้เรียนรู้ ทดลอง และลงมือทำด้วยตนเอง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
    สามารถนำไปใช้ในการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : เนื้อหามีครบถ้วน เข้าใจกระจ่าง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีข้อมูลที่ชัดเจน